วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 9

ใบงานที่ 9
คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน
จากประสบการณ์ในการทำงานทางด้านการศึกษาและจากการศึกษาต่าง ๆ ที่ผ่านมา พบว่าผู้บริหารที่ดี(มืออาชีพ)นั้น ควรจะมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในแต่ละด้าน ได้แก่
1. การมีภาวะผู้นำ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน รู้จักตัดสินใจ สามารถนำเอาวิธีการและกลยุทธในการแก้ไขปัญหามาใช้ในการปฎิบัติงานในงานได้ และเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่กำหนดทิศทางขององค์กรและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี สามารถสร้างพลังในการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น
2. เป็นบุคคลที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับหรืออยู่ในขอบข่ายของภารกิจที่รับผิดชอบ
3. มีทักษะในการสื่อสารที่เป็นเลิศ ที่สามารถสื่อสารทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่ทำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาสามารถเข้าใจง่าย และเข้าถึงในสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร
4. เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มีความคิดและมุมมองที่กว้าง และเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล
5. เป็นผู้ที่ยอมรับและเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
หลักการบริหารที่ผู้บริหารผู้บริหารมืออาชีพต้องมีเพื่อจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารควรมีหลักการในการทำงานที่มีความชัดเจน ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
1. การกำหนดนโยบายบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมที่มีความคมชัด ซึ่งสามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ต่อเนื่องและบังเกิดผล
2. มีความรอบรู้และสามารถสั่งการหรือมอบหมายงานรวมทั้งการสื่อสารในองค์กร ที่ทำให้เกิดการยอมรับในกลุ่มเพื่อนร่วมงานและผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชา ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่าย พร้อมที่จะรับนโยบายหรือรับคำสั่งไปใช้ในทางปฏิบัติได้
3. ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในองค์กรให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ โดยผ่านขั้นตอนของการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่คณะ เพื่อนร่วมงาน หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมขององค์กร ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่การสร้างการยอมรับของคนในองค์กร
นอกจากนี้ผู้บริหารจะต้องนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน เพื่อเป็นหลักในการทำงานที่สร้างบรรทัดฐานที่ดีขององค์กร และนำสามารถนำองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ โดยหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน นักบริหารที่ดี ควรมีภาวการณ์เป็นผู้ที่สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลง และความขัดแย้ง ในองค์กรได้โดยก่อให้เกิดการยอมรับอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้เกิดความรู้สึกที่สูญเสียเป็นการแก้ปัญหาแบบชนะ-ชนะ (Win - Win Solution) ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา (Learning Organization) อยู่อย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น