วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14

ข้อดีของ blog

1. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2. เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3. เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ
4. ทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5. ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เป็นช่องทางที่ได้แสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และสามารถออกทางการเมือง ประชาธิปไตยอย่างอิสระ

ข้อด้อยของ blog
1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้

การเปรียบเทียบ Blogspot.com กับ Blog Go to Know
1. blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น ส่วนGotokhow เมื่อบันทึกบทความแล้ว นอกจากข้อความจะปรากฏใน blog ตัวเองแล้วยังปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย
2. blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ เจ้าของ blog เท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการตรวจสอบและกลั่นกรอง ส่วน Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง คอยสร้างความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศและมิตรภาพที่งดงามให้แก่สมาชิก
3. blogspot ผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blogเช่น สามารถเปลี่ยนสกินได้มาก สามารถใส่คลิป เพลง ลูกเล่นต่างๆ ได้เย่อะ ทำให้มีความน่าสนใจมาก ผู้เขียนเองก็สนุกกับการเขียน blog เปิดโอกาสให้เจ้าของ blog ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ได้เต็มที่ ส่วนGotokhow ไม่สามารถตกแต่ง blog ได้มาก
4. blogspot ผู้เข้าไปใช้งานจะมีความหลากหลาย ส่วนGotokhow ผู้ใช้งานมักอยู่ในแวดวงวิชาการ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]

ใบงานที่ 13

สรุปการทำประโยชน์ต่อสังคม

เมื่อไม่ได้ไปศึกษาดูงานวันที่ 17-22 มกราคม 2553 ที่ผ่านมาไม่ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานกับเพื่อน ๆ เนื่องจากได้ ตั้งครรภ์ 7 เดือนแล้ว มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพด้วย แต่ก็ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนตามปกติ และ ได้เพิ่มเติมให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการสีข้าวแบบพื้นบ้าน การผลิตข้าวกล้อง ได้ประสานงานให้มีวิทยากรมาสาธิตให้ดู และนักเรียนได้ปฏิบัติจริงเป็นการเพิ่มองค์ความรู้และเข้าใจวิถีชีวิตการผลิตข้าวของคนไทยในอดีต
กิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง คือได้ไปเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหา เพื่อช่วยเหลือให้เข้าเรียนได้ตามปกติ
ส่วนเรื่องการได้เกรดอะไรจากการปฏิบัติงาน ผลงานย่อมทำให้เห็นได้ แต่การได้ปฏิบัติจริงเท่านั้นจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และมีองค์ความรู้เกิดขึ้นจริง ๆ และสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้
ตั้งใจ ใฝ่รู้ ทำจริง มีผลงาน เกรดที่ได้ก็ควรจะอยู่ในระดับ B ขึ้นไป

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12

สรุปการเรียนรู้ การใช้ spss for window วันที่ 26 ธันวาคม 2552
1. เปิดโปรแกรม SPSS 11.5 For Window
2. ไปที่ Variable view เพื่อกำหนดค่าตัวแปร และไปที่ Data view เพื่อใส่ข้อมูล โดย
- Variable view สร้างรหัสและการกำหนดค่าตัวแปร เช่น ตัวแปร sex เพศ ให้ 1 แทน ชาย และ 2 แทน หญิง , ageอายุ 1 แทน 20- 29 ปี 2 แทน 30-39 ปี 3 แทน...,degree การศึกษา ให้ 1 แทน ปริญญาตรี 2 แทน ปริญญาโท 3 แทน....เป็นต้น
- สร้างรหัสกำหนดค่าความพึงพอใจที่สอบถาม เช่น ความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านวิชาการ แทนด้วย a ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด แทนด้วย a1 มาก แทนด้วย a2 น้อยแทนด้วย a3 , ความพึงพอใจต่ออาคารสถานที่ แทนด้วย b ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด แทนด้วย b1 มาก แทนด้วย b2 น้อยแทนด้วย b3 เป็ฯต้น
- Data view นำแบบสอบถามมาลงคะแนนความถึ่(บันทึกข้อมูล)ให้ครบถ้วน
- เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ไปที่ Transform เลือก compute...ไปหาค่าฉลี่ย ของข้อมูล
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
- คลิกไปที่ Analyze
- คลิก Reports เมนูย่อย Olap Cubes ในช่อง Grouping Variable (s) : ใส่ตัวแปร
จัดกลุ่ม (Norminal) ส่วนช่อง Summary Vaiable (s) ใส่ตัวแปรเชิงปริมาณ (Scale) : หลังจากนั้นคลิกไปที่ช่อง Statistics ก็จะปรากฏหน้าต่าง แล้วคลิกปุ่ม Continue และคลิก OK โปรแกรมประมวลผลแสดงหน้าต่าง Output ผลที่ได้จะเป็นไปตามตารางพื้นฐานต่าง ๆ ของตัวแปรตามที่เราเลือกเอาไว้
4. การแจกแจงความถี่และสถิติพื้นฐาน
- เปิดข้อมูลเดิมที่ทำเอกไว้ก่อนแล้ว
- คลิกเมนูหลัก Analyze เมนูสำรอง Descriptive Statistic และเมนูย่อย Frequencies
จะปรากฏหน้าต่าง Frequencies หลังจากนั้นถ้าหากจะหาความถี่ตัวแปร อายุ ก็ให้คลิกที่คำว่าอายุ ในช่องซ้ายแล้วคลิกลูกศรตรงกลาง หลังจากนั้นก็ไปคลิกที่ปุ่ม Statistics ก็จะปรากฏหน้าต่าง Frequencies : Statistice เราก็สามารถที่จะเลือกสถิติที่ต้องการได้ โดยคลิกเครื่องหมาย ถูก ในสี่เหลี่ยมด้านหน้าสถิติที่ต้องการ แล้วคลิก Add หลังจากนั้นก็ใส่คำที่ต้องการหา แล้วคลิกปุ่ม Add อีกครั้ง ส่วนสถิติอื่น ๆ ก็สามารถจะเลือกคำนวณได้ตามความต้องการ เช่น Mean : แสดงค่าเฉลี่ย , Median : แสดงค่ามัธยฐาน,Mode : แสดงค่าฐานนิยม, Sum : แสดงค่าผลรวม, Range : แสดงค่าพิสัย, Minimum : แสดงค่าต่ำสุด,Maximum : แสดงค่าสูงสุด เป็นต้น เมื่อคลิกสถิติที่ต้องการแสดงผลแล้วก็คลิกปุ่ม Continue และถ้าหากต้องการสร้างกราฟให้ไปคลิก ที่หน้าต่าง Frequencies แล้วคลิกปุ่ม Chats ก็จะปรากฏหน้าต่าง requencies : Chart ออกมา เราก็สามารถที่จะดำเนินการขั้นต่อไปได้

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11

 
ความคิดเห็นต่ออาจารย์อภิชาติ  และการเรียนการสอน
     ด้านบุคลิกภาพ   :   รูปร่างสง่าสมส่วน  แต่งกายสุภาพ สะอาด ดูดี  คล่องแคล่วว่องไว      
     ด้านอารมณ์        :   สุขุม  จริงจัง
     ด้านสังคม           :   เป็นที่เคารพรักของลูกศิษย์  มีความเป็นกันเองสูง  เข้ากับผู้อื่นได้ดี
     ด้านการสอน       :   อาจารย์มความตั้งใจในการถ่ายทอดความรู้สูงมาก  และมีความคาดหวัง
                                    ต่อนักศึกษาสูง  ทำให้นักศึกษาค่อนข้างเครียดกับงานในวิชาเรียน